วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 16

ส่ง blogger

ท่องเกี่ยวกับศัพท์-คำแปลทางคอมพิวเตอร์10คำ

ออกบริการซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ให้แผนกต่างในวิทยาลัย

สัปดาห์ที่ 15

หาเนื้อหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ ตามหัวข้อต่างๆที่อาจารย์ให้

แล้วออกไปพูดหน้าชั้นเรียน

สัปดาห์ที่ 14






นำเสนอเรื่องBIOSหน้าชั้นเรียน

สัปดาห์ที่ 13

ทำpower point เรื่อง bios และแก้ไขข้อผิดพลาด

เพื่อนนำมา present

สัปดาห์ที่ 12

ส่งงาน power point เรื่อง BIOS

ให้อาจารย์ผู้สอนตรวจสอบข้อผิดพลาดของงาน

เพื่อนำมาpresent

สัปดาห์ที่ 11

BIOS

การกำหนดค่า BIOS และการ Overclock
BIOS (อ่านว่า ไบออส) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเครื่องพีซี เพราะการทำงานตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องก็จะเริ่มต้นที่ BIOS และการที่เครื่องพีซีจะสามารถมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไปได้ก็โดย
BIOS คืออะไร ?
BIOS (Basic Input Output System) ประกอบด้วย2ส่วนคือ
1.ตัวโปรแกรมที่เก็บอยู่ใน ROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวรไม่ลบเลือนเมื่อปิดเครื่องหรือไม่มีไฟเลี้ยง แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
2.ข้อมูลหรือค่าต่างๆที่ตั้งให้โปรแกรมจะทำงานจะเก็บอยู่ใน CMOS RAM (ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่สามารถเขียนข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลได้และกินไฟ น้อยเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลและเก็บไว้ได้แม้ขณะที่ปิดเครื่อง โดยใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ ก้อนเล็กๆ CMOS เป็นเทคโนโลยีในการผลิตสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษที่กินไฟน้อยมาก ต่างๆของ BIOS
การอัพเกรด BIOS (Upgrade)
บ่อยครั้งที่การอัพเกรด BIOS เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก BIOS เดิมอาจจะไม่รองรับกับชิ้นส่วนใหม่ๆเช่น ซีพียูรุ่นใหม่ หรือฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการอัพเกรด BIOS จะขึ้นอยู่กับชนิดของชิป ROM BIOS ที่ใช้เก็บตัวโปรแกรมว่าเป็นแบบ flash หรือ non – flash ถ้าเป็น flash BIOS ซึ่ง สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ก็จะสามารถอัพเกรดได้ด้วยซอฟแวร์ที่อาจได้มาจากการดาวน์โหลดจากเว็บไซท์ของ ผู้ผลิตเมนบอร์ดนั้นๆ พร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น แล้วทำตามขั้นตอนที่คู่มือของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆแนะนำไว้
Note
การอัพเกรด BIOS เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ BIOS ใหม่ก็อาจจะสร้างปัญหาใหม่ให้กับเมนบอร์ดอย่างคาดไม่ถึงได้ และถ้ามีปัญหาอัพเกรดไม่สำเร็จอาจจะถึงขั้นทำให้เมนบอร์ดนั้นใช้ไม่ได้อีก เลย ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นหรือไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาติดขัดอยู่ ก็ไม่ควรจะอัพเกรด BIOS เล่นเป็นต้น
การกำหนดค่า BIOS
ปกติแล้วการกำหนด BIOS จะทำได้โดยกดคีย์บอร์ดในขณะที่บู๊ตเครื่อง ซึ่งก็แล้วแต่ BIOS ของเครื่องนั้นๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้คีย์ [Del] นอกจากนั้นก็มี [F1] (IBM) , [F2] (Compaq)ซึ่งมักจะแสดงขึ้นมาบอกในขณะที่ BIOS แสดงชื่อและรุ่นออกมาตอนเปิดเครื่อง แต่ถ้าไม่มีก็คงต้องดูจากคู่มือเมนบอร์ด
วิธีการใช้งานหน้าจอกำหนดค่าของ BIOS ปกติแล้วมักจะมีลักษณะเป็นเมนูที่สามารถใช้คีย์ลูกศรทิศทางต่างๆเลื่อนไปยังแต่ละหัวข้อ และใช้คีย์ [Enter] ในการเลือกเข้าไปแต่ละเมนู ซึ่งทำให้สามารถเลือกเข้าไปที่หัวข้อต่างๆได้อย่างง่ายดาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงค่าของแต่ละรายการอาจจะใช้คีย์ [PgUp],[PgDn]ในการเลื่อนค่ากลับไปกลับมาได้ ซึ่งบาง BIOS อาจจะใช้คีย์ [F7]และ[F8]หรือ[+],[-]หรือไม่ก็ใช้[Space]เพียงอย่างเดียวหรือ กดคีย์ [Enter]แล้ว เลือกจากเมนูย่อยก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในหน้าจอจะมีรายการหน้าที่ของคีย์ต่างๆแสดงอยู่ เพื่อบอกให้รู้ว่าสามารถใช้คีย์ใดทำอะไรได้บ้าง ในการกลับออกไปที่เมนูหลักโดยส่วนใหญ่มักจะใช้คีย์[ESC]ส่วนมากออกจากระบบโดยการกำหนดค่า BIOS ก็มักจะมีให้เลือกว่าต้องการบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่ทำนั้นก่อนที่จะออกไปหรือไม่ โดยมี 2 หัวข้อคือ Write to CMOS and exit (หรือบางทีก็เขียนว่า Exit and save change)ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลทุกอย่างที่แก้ไขไว้ใน CMOS ก่อนที่จะออกไปและ Do not write to CMOS and exit (หรือ Exit without save)ซึ่งเป็นการออกไปโดยไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆซึ่งทุกอย่างจะกลับสู่สภาพเดิมเหมือนไม่มีการแก้ไขใดๆ
Password(กำหนดรหัสผ่าน)
ในBIOS จะมีการกำหนดรหัสผ่านได้ 2 ลักษณะ คือ
- Supervisor password เป็นรหัสผ่านที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถตั้งไว้เพื่อป้องกันการเข้าไปแก้ไขค่าต่างๆที่ถูกกำหนดไว้ใน BIOS ได้ การแก้ไขสำหรับในกรณีที่ลืมรหัสผ่านจำเป็นจะต้องใช้วิธีการ Clear BIOS อย่างเดียว
- User password เป็น รหัสผ่านที่ตั้งไว้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นหรือผู้ใดที่ไม่ทราบรหัสผ่านสามารถ เข้าไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้ ซึ่งถ้าตั้งรหัสผ่านไว้แล้วเครื่องจะถามรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปิด เครื่อง
รหัสผ่านมีประโยชน์ในการป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้เครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาเปลี่ยนแปลงBIOS ซึ่ง อาจจะทำให้เครื่องมีปัญหาหรือใช้งานไม่ได้อีกเลย รวมทั้งการเข้ามาตั้งรหัสใหม่เพื่อทำให้เจ้าของเดิมใช้เครื่องไม่ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามถ้าลืมรหัสที่กำหนดไว้ก็จะเป็นเรื่องวุ่นวายมากเลยทีเดียว เนื่องจากคุณจะไม่สามารถเข้าไปใช้งานเครื่องหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข BIOS ได้ อีกเลย จึงควรหาทางจดบันทึกรหัสผ่านที่กำหนดนี้เก็บไว้ในที่ปลอดภัยด้วย มิฉะนั้นก็อาจจะต้องใช้วิธีเปิดเครื่องออกมาแล้วเสียบจัมเปอร์ใหม่ เพื่อลบค่าที่ตั้งไว้ให้กับBIOSออกไป (ถ้าทำได้) หรือแม้กระทั่งอาจจะต้องถอดถ่านหรือแบตเตอรี่ (Battery) ออกซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
การตั้งค่า BIOS เพื่อ overclock
ปัจจุบันซีพียูมีความเร็วมากขึ้นจนกระทั่งการ overclock มีความหมายน้อยลงไปทุกที แต่เมนบอร์ดในปัจจุบันก็ช่วยให้การ overclock ทำได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อนที่ต้องปรับเปลี่ยนจัมเปอร์หรือตั้งค่าสวิตช์ กันมากมาย รวมทั้งไม่เสี่ยงต่อความเสียหายด้วย การ overclock ด้วย BIOS จึงถือได้ว่าเป็นการใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดแทน
อย่างไรก็ตามแม้การ overclock ด้วย วิธีนี้จะไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย แต่ก็ยังคงมีความเสียหายต่อการบู๊ตไม่ได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาดูก่อนว่าเมนบอร์ดนี้มีความสามารถที่จะทำให้การบู๊ตกลับ ขึ้นมาใหม่เมื่อมีการตั้งค่าผิดพลาดไปหรือไม่ (ซึงเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญของเมนบอร์ดที่เหมาะสมสำหรับการ overclock แต่ไม่มีมากับทุกบอร์ด) ถ้าไม่มีก็จะต้องศึกษาในเรื่องของการเคลียร์ค่าของ CMOS ให้ดีๆดูว่าล้างได้ง่ายๆโดยเพียงแค่สลับจัมเปอร์หรือไม่ ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่ควรจะเสี่ยงที่จะ overclock จนมากเกินไป
Overclock คืออะไร
ก่อนที่จะ overclock มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า oveclock คืออะไร และมีแนวทางอย่างไร การ overclock คือ การทำให้อุปกรณ์ทำงานที่ความเร็วสูงกว่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การทำงานเต็มประสิทธิภาพตามที่ได้ดูกันมาแล้วในหัวข้อที่ แล้ว การ overclock อาจจะกระทำกีบซีพียู RAM การ์ด จอ บัสสำหรับรับส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะทำเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดรวมกันก็ได้ โดยการเร่งความเร็วให้สูงขึ้นนี้อาจจะต้องทำร่วมกันกับการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความเร็วให้มากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการ overclock ก็ คือ ความร้อนที่เกิดมากขึ้น และทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะต้องทำงานที่อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือทำให้อายุการใช้งานสั้นลง การ overclock จึงควรจะกระทำควบคู่ไปกับการปรับปรุงการระบายความร้อนให้ดีขึ้นด้วย

สัปดาห์ที่ 10

ทิศทางของเมนบอร์ด

วิธี สังเกตุMainboardว่าทางไหนทิศเหนือทางไหนทิศใต้แต่ละทิศทำหน้าที่อะไรโดย ทั่วไปแล้ว Northbridge คือชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อระหว่าง CPU, RAM, AGP หรือ PCI Express และ Southbridge(ยกเว้น CPU รุ่นใหม่ ๆ บางตัวที่รวมการทำงานบางส่วนเข้าไปใน CPU แล้ว)Northbridges บางตัวก็ฝัง Video controllers เข้าไปด้วยเลยซึ่งคือ "การ์ดจอออนบอร์ด" ที่มักจะเรียกกันบ่อยส่วน Southbridge คือชิพจัดการ input/output (I/O) เช่น USB, Serial, audio, Integrated Drive Electronics (IDE), PCI, ISA
ทิศเหนือ ( Northern Bridge ) จาก แผนภาพข้างบนจะเห็นว่า อุปกรณ์ที่เข้ามาต่อกับ VT82C589AT โดยตรงได้แก่ Host Master หรือซีพียู (ในคอมพิวเตอร์ ถือว่าตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการควบคุมการประมวลผลคือซีพียู) และ VGA Card หรือ AGP Card หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำแคช (Static RAM) และ Slot สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อผ่าน PCI Bus ทั้งหมดนั้นต้องถูกควบคุมผ่านสะพานทิศเหนือ สังเกตได้ว่า Northern Bridge นั้นเป็น Chipset หลัก ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์หลักๆ ของคอมพิวเตอร์ การเรียกชื่อ Chipset นี้จะเรียกเป็นชื่อที่ผู้ผลิตตั้งขึ้นมาเอง อย่างเช่น VIA เรียก Chipset ข้างบนว่า MVP3 แต่ถ้าเป็นกรณีของ Intel จะเรียกเฉพาะชื่อย่อ ถ้าหากสังเกตที่ตัว Chipset จะมีโค๊ดหรือรหัสยาวหลายตัว เช่น FW82443LX แต่ Intel เรียกว่า 440LX เท่านั้น
ทิศใต้ ( Southern Bridge )
ควบ คุมอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) Harddisk, CD-ROM Drive , USB และ ACPI Controller (ดูแผนภาพประกอบ) รวมทั้งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกับ ISA Bus ด้วย หน้าที่เพิ่มอีกอย่างหนึ่งของ Southern Bridge คือเป็นตัวควบคุม Power Management ControllersABIT IP35 PRO OFF LIMITS เป็นเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานของซีพียูซ็อกเก็ต LGA775 สามารถรองรับการทำงานของซีพียูที่ใช้ FSB ตั้งแต่ 800MHz 1066MHz ไปจนถึง 1333MHz ซึ่งหมายความว่าซีพียูที่จะนำมาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็จะต้องเป็นรุ่นที่ ใหม่อยู่สักหน่อยเพราะต้องใช้ FSB ที่มีความเร็ว 800MHz ขึ้นไปทางด้านหน่วยความจำเมนบอร์ดรุ่นนี้ยังคงใช้หน่วยความจำแบบ DDR2 โดยรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 8GB พร้อมทั้งรองรับการทำงานในแบบ Dual Channel สำหรับความเร็วของหน่วยความจำที่จะนำมาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็เริ่มต้นที่ DDR2-667 และ DDR2-800ชิปเซต P35 ที่ใช้นั้นจะรองรับการทำงานของกราฟิกการ์ดแบบ CrossFire ด้วย และบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็มีสล๊อต PCI-Express x16 มาให้ถึงสองช่อง เพื่อให้เราสามารถใส่กราฟิกการ์ดของ ATi ที่รองรับเทคโนโลยี CrossFire ได้ และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าระยะห่างของสล๊อต PCI-Express x16 ทั้งสองช่องก็มีการเว้นระยะไว้พอสมควร ทำให้สามารถติดตั้งกราฟิกการ์ดที่มีฮีตซิงค์ใหญ่ๆ ได้อย่างสบายชุดระบายความร้อนของเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ถือว่ามีมาอย่างครบสูตร ไม่ว่าจะเป็นส่วนของชิปเซตทั้งนอร์ธบริดจ์เซาธ์บริดจ์และส่วนของภาคจ่ายไฟ ของซีพียู โดยเฉพาะฮีตซิงค์็ตรงชิปนอร์ธบริดจ์นั้นมีขนาดใหญ่โตพอสมควรทำให้เราไม่ต้อง กังวลเรื่องความร้อนเมื่อทำการโอเวอร์คล๊อก FSB ไปที่ความเร็วสูงๆ เพราะเมื่อเราทำการปรับ FSB ไปสูงๆ นั้นเราก็อาจจะต้องทำการเพิ่มแรงดันให้กับชิปนอร์ธบริดจ์ด้วยเหมือนกันนอก เหนือไปจากคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการโอเวอร์คล็อกแล้ว เมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น มีพอร์ต LAN จำนวนสองช่อง มี eSATA จำนวนสองช่อง มีสวิตช์สำหรับเคลียร์ไบออสอยู่ทางด้านหลัง ซึ่งทำให้เราไม่ต้องเปิดฝาเคสเวลาที่ต้องการเคลียร์ค่าในไบออสเป็นต้น Mainboard1. ชุดชิพเซ็ต ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน 2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ เมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง3. หน่วยความจำแคชระดับสอง หน่วยความจำแคชระดับสอง เป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
เมน บอร์ดแบบรวม หมายถึง เมนบอร์ดที่มีการรวม Integrate หรือรวม Controller ต่างๆไว้ในตัวเมนบอร์ดชุดเดียวกันหรือที่เรียกว่า o­n Board เช่น การ์ดเสียง หรือ Display Adapter ที่อยู่บนตัวบอร์ดเองมักจะเรียกกันว่า เมนบอร์ดแบบ All in o­ne เมนบอร์ดแบบแยก หมายถึง เมนบอร์ดที่มีเพียง Chipset อยู่บนเมนบอร์ดเท่านั้น จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเสียบอุปกรณ์อื่นคือ Integrate หรือ Controller ที่อยู่ในรูปของการ์ด เข้าไปในช่อง Slot บนเมนบอร์ดเช่น การ์ดจอที่ต้องใส่ลงไปใน AGP Slot หรือการใส่การ์ดเสียงลงใน Slot Sound Card